วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงธนบุรี



ประวัติศาสตร์ไทย คือ ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยการปกครองจะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ และได้ปกครองในระบบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
ยุคเริ่มแรก
ประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือที่บ้านเชียง โดยสิ่งของที่ขุดพบมาจากในสมัยยุค ๓,๖๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการพัฒนาเครื่องบรอนซ์ และมีการปลูกข้าว รวมถึงการติดต่อระหว่างชุมชนและมีระบอบการปกครองขึ้น มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาที่มาของชนชาติไท ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าชาวไทยในสมัยก่อนเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้นได้มีการทยอยอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายพันปี โดยเชื่อว่าเกิดจากการแสวงหาทรัพยากรใหม่ แต่ทฤษฎีนี้ขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าเชื่อถือได้ ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเดิมชนชาติไท ได้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้างขวางในทางตอนใต้ของจีนจนถึงภาคเหนือของไทยและได้มีการอพยพลงใต้เรื่อย ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นได้อาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ โดยไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอาจเนื่องด้วยดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนในช่วงเวลานั้นยังมีพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่เบาบาง ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงไม่รุนแรง รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวไทนั้นเป็นผู้อ้อนน้อมและประนีประนอม ความสัมพ้นธ์ระหว่างชาวไทยกลุ่มต่างๆ อาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง ในฐานะของผู้มีภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แต่การรวมตัวเป็นนิคมขนาดใหญ่หรือแว่นแคว้นยังไม่ปรากฏ ในเวลาต่อมา เมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นจำนวนมากขึ้น ชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทในภูมิภาค แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่เพียงการเป็นกลุ่มอำนาจย่อย ๆ ภายใต้อำนาจการปกครองของชาวมอญและเขมร กระทั่งอำนาจของเขมรในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มอ่อนกำลังลง กลุ่มชนที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของเขมร รวมทั้งกลุ่มของชาวไทย
ในช่วงต่อมา มีการปกครองของหลายอาณาจักรในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวมาเลย์ ชาวมอญ ชาวเขมร โดยอาณาจักรที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรทวารวดีในตอนกลาง อาณาจักรศรีวิไชยในตอนใต้ และอาณาจักรเขมรซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่นครวัด โดยคนไทยมีการอพยพมาจากดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ของจีน ผ่านทางประเทศลาว




การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาได้สิ้นสุดลงใน พ.ศ.๒๓๑๐ เมื่อพม่าสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงกู้เอกราชกลับคืนมาได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
โดยที่ทรงปราบปรามบรรดาผู้นำกลุ่มอิสระต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา และสามารถรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นปึกแผ่นไว้ได้
จากนั้นได้ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี
สำหรับการปกครองสมัยกรุงธนบุรียังคงใช้รูปแบบการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก






  • การปกครองสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ลักษณะการปกครองคล้ายกับสมัยอยุธยา มีการควบคุมไพร่เข้มงวดขึ้น โดยมีการสักข้อมือไพร่ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อได้รับอิทธิพลของชาวตะวันตกเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยศึกษาความรู้ต่าง ๆ จากชาติตะวันตกจนกระทั่ง ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ดังนี้ 1. ให้สิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา 2. อนุญาตให้เข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน 3. ออกกฎหมายประกาศรับฎีกาของประชาชนในทุกวันโกน 4. ให้สิทธิสตรีมีโอกาสทางด้านการศึกษา และการสมรส 5. ให้เสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 1. การเลิกทาสและไพร่ 2. การปฏิรูปทางการศึกษา 3. มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อจัดเก็บภาษีอากร 4. จัดทำงบประมาณรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน 5. การสร้างทางรถไฟเพื่อการขนส่ง 6. ปฏิรูปการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ 7. จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม 8. ออกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน 9. ตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมืองต่าง ๆ การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 1. ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษากษัตริย์ 2 สภา คือ รัฐมนตรีสภา และองคมนตรีสภา 2. ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการในราชธานีใหม่โดยยกเลิกจตุสดมถ์ สมุหนายก และสมุหกลาโหม และจัดตั้งหน่วยงานเป็นกระทรวง 12 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่ 1. กระทรวงมหาดไทย ดูแลเกี่ยวกับการปกครองหัวเมือง 2. กระทรวงกลาโหม ดูแลเกี่ยวกิจการทหารและหัวเมืองฝ่ายใต้ 3. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ 4. กระทรวงวัง ดูแลเกี่ยวกับพระราชวัง 5. กระทรวงนครบาล ดูแลเกี่ยวกับกิจการตำรวจและราชทัณฑ์ 6. กระทรวงเกษตราธิราช ดูแลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เหมืองแร่ 7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร งบประมาณแผ่นดิน การคลัง 8. กระทรวงยุติธรรม ดูแลเกี่ยวกับการศาล ชำระความทั้งแพ่งและอาญา 9. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลจัดการเกี่ยวกับการทหาร 10. กระทรวงโยธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ขุดคลอง ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ 11. กระทรวงธรรมการ ดูแลเกี่ยวการศึกษาและศาสนา 12. กระทรวงมุรธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับพระราชสัญจกร พระราชกำหนดกฎหมาย หนังสือราชการ การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค - มณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผผู้ปกครอง - ในแต่ละมณฑลประกอบด้วย เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตามลำดับ โดยประชาชนเลือกตั้งกำนัน และผู้ใหญ่ บ้านเอง การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นตนเอง - ตั้งสุขาภิบาลแห่งแรก คือ สุขาภิบาลกรุงเทพฯ - ตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก คือ ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรปราการ การปรับปรุงระเบียบบริหารในสมัยรัชกาลที่ 6 1. ทรงยกโรงเรียนราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. ประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษา 3. ตั้งดุสิตธานี นครจำลองเพื่อการปกครองแบบประชาธิปไตย 4. ให้เสรีภาพหนังสือพิมพ์วิจารณ์รัฐบาล 5. เปลี่ยนการเรียกชื่อเมืองเป็นจังหวัด การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7 การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 7 เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และภายหลังจาก เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป็นสาเหตุให้ เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดย คณะราษฎร์ นำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(นาย ปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน หลักการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1. อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ 2. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 3. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ - ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร - ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี - ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล หลักการปกครองของคณะราษฎร 1. รักษาความเป็นเอกราช 2. รักษาความปลอดภัยของประเทศ 3. พัฒนาเศรษฐกิจให้ราษฎรกินดีอยู่ดี 4. ให้ประชาชนมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน 5. ให้ประชาชนมีเสรีภาพ 6. ให้ประชาชนมีการศึกษา การเมืองการปกครองของไทยยังขาดเสถียรภาพ มีสาเหตุเนื่องมาจาก 1. มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อย ทำให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง 2. มีการเปลี่ยนโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาบ่อยครั้ง 3. มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้ง 4. เกิดปัญหาพรรคการเมืองไทย เช่น พรรคการเมืองมากเกินไป ขาดอุดมการณ์ ขาดระเบียบวินัย เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น