วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5




  • ในช่วงสมัยการเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ประเทศไทยได้มีความพยายามที่จะปรับตัวเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อลดกระแสกดดันจากประเทศแถบตะวันตกที่มุ่งขยายอิทธิพลเข้าครอบงำประเทศไทยให้ลดน้อยลงจนถึงระดับปลอดภัย การปรับตัวที่สำคัญประการหนึ่งของไทย คือ การปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) เพราะการปฏิรูปสังคมและการศึกษาได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475






สภาพการณ์ทั่วไปก่อนการปฏิรูปสังคมและการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5






  1. 1.สภาพการณ์ทางด้านการเมืองการเมืองภายในก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 มีสภาพอยู่ในระบบดั้งเดิม คือมีพระมหากษัตริย์ทรงปกครองราชอาณาจักรโดยอาศัยเสนาบดี ซึ่งมีหน้าที่บริราชการส่วนกลางรวมทั้งหมด 6 กรม คือ กลาโหม มหาดไทย เวียง วัง คลัง นา การปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค อยู่ภายใต้การควบคุมของเสนาบดี คือ สมุหพระกลาโหม ปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ สมุหนายกปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ โกษาธิบดี ปกครองดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก สมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394-2411) ทรงได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดแบบเสรีตามอย่างตะวันตก คือ ทรงให้บรรดาขุนนางข้าราชการเลือกบุคคลที่เหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูปุโรหิตและพระมหาราชครูมหิธรซึ่งว่างลง โดยพระองค์จะทรงเข้าแรกแซงหรือยุ่งเกี่ยว แต่จะทรงเกี่ยวข้องก็เมื่อถึงเวลาที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามที่ขุนนางข้าราชการเสนอรายชื่อมาเท่านั้น ทางด้านการเมืองภายนอก ไทยกำลังถูกคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งเริ่มมีท่าที่เห็นได้ชัดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เมื่ออังกฤษรุกรานพม่า และเกิดกระทบกระทั่งกับไทยเกี่ยวกับปัญหาเมืองไทรบุรีในมลายู นอกจากนั้นไทยได้มีการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษใน พ.ศ. 2369 และเมื่ออังกฤษได้ส่งเซอร์ เจมส์ บรู้ค (Sir James Brooke) เข้ามาเจรจาของแก้ไขสนธิสัญญากับไทยใน พ.ศ. 2393 แต่ไทยก็ได้ปฏิเสธที่จะแก้ไข จึงทำให้เกิดความวิกฤตในหมู่ผู้นำไทยบางกลุ่มที่เกรงว่าอังกฤษอาจะเปลี่ยนนโยบายจากการเจรจาด้วนสันติวิธีมาเป็นการเจรจาโดยใช้นโยบายอื่นบังคับไทยต่อไปในอนาคต ถ้ามีการเจรจาเกิดขึ้น สมัยรัชกาลที่ 4 ไทยได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 เป็นผลทำให้ไทยต้องยกเลิกระบบการแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า และเปลี่ยนมาเป็นนโยบายการค้าแบบเสรี โดยยอมสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้อังกฤษ รวมทั้งการเก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยละ 3 และอื่นๆ อีกหลายประการ นอกจากนั้นไทยยังต้องตกลงทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันที่ทำกับอังกฤษกับประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ เพิ่มลดกระแสกดดันทางการเมืองและการทหารจากมหาอำนาจตะวันตก นอกจากนี้ไทยยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการบีบคั้นจากมหาอำนาจตะวันตกได้อย่างสิ้นเชิง เช่น การยอมยกดินแดนเขมรส่วนในและเกาะต่างๆ อีก 6 เกาะ รวมเป็นเนื้อที่ 124,000 ตารางกิโลเมตรให้แก่ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสยอมรับว่าไทยมีสิทธิเหนือเสียมราฐและพระตะบองเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410




สภาพการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ







  • ก่อนที่ไทยจะทำสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ. 2398 ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาดทางด้านการค้าโดยพระคลังสินค้า การผลิตที่สำคัญเป็นการผลิตทางด้านการเกษตร ธุรกิจการค้าของเอกชนเป็นกาค้าขนาดเล็กที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันภายในราชอาณาจักร ส่วนการค้าขายกับต่างประเทศอยู่ในความควบคุมของพระลังสินค้า ที่ผูกขาดการซื้อขายสินค้าที่มีค่าหลายประเภทภายหลังเมื่อรัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษแล้ว ระบบเศรษฐกิจการค้าของไทยได้เปลี่ยนแปลงเป็นระบบการค้าแบบเสรี ซึ่งทำให้ไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จะเห็นได้จากภายใน 19 เดือน นับแต่ลงนามในสนธิสัญญาบาวริง ได้มีเรือสินค้าเข้ามาในกรุงเทพฯถึง 130 ลำ และพ่อค้าในกรุงเทพฯ ก็ส่งเรือออกไปค้าขายต่างประเทศถึง 37 ลำ ซึ่งเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 10 เท่า หมอบรัดเลย์ได้บันทึกไว้ว่าเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2399 มีเรือต่างประเทศมาทอดสมออยู่ในแม่น้ำถึง 60 ลำ และได้เพิ่มจำนวนเป็น 103 ลำในปลายปีเดียวกัน ส่วนพ่อค้าในกรุงเทพฯได้ส่งเรือออกไปค้าขายถึง 37 ลำ แสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่ยืนยันถึงการขยายตัวทางการค้าอย่างแท้จริงผลของการทำสนธิสัญญาบาวริง ระบบการค้าเสรีได้ทำให้เศรษฐกิจแบบพึ่งตัวเองน้อยลง สินค้าเข้าแต่เดิมประกอบด้วยสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นไปเพื่อการบริโภคของชนชั้นสูง เปลี่ยนมาเป็นสินค้าหลายชนิดเพื่อการบริโภคของคนทั่วไป ส่วนสินค้าออกของไทยสมัยก่อนจะเป็นสินค้าหลายๆชนิด ก็เปลี่ยนมาเป็นสินค้าเพียงไม่กี่ชนิด นอกจากนั้นการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางตั้งแต่ พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบใดที่จะเกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมากมายเท่ากับการทำนา ชาวนาได้ขยายการผลิตข้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้การปลูกพืชที่จำเป็นในการครองชีพอื่นๆน้อยลง การขยายตัวในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก ทำให้ชาวนาต้องขยายที่นาออกไปและความจำเป็นในการใช้แรงงานก็มีมากขึ้น แต่ในขณะที่แรงงานคนไทยยังไม่มีความเป็นอิสระเพราะยังติดอยู่กับระบบไพร่และทาส รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นความจำเป็นในการผลิตข้าวเพื่อการส่งออก จึงทรงสนับสนุนด้วยการลดหย่อนการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ลง เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้เวลาในการทำนามากขึ้น ส่วนงานก่อสร้างของหลวงที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากก็โปรดให้จ้างคนจีนมาทำแทน สำหรับคนไทยก็อาจจะใช้วิธีจ่ายเงินแทนการเกณฑ์แรงงานได้ ดังนั้นความจำเป็นในการใช้แรงงานเสรีภายหลังสนธิสัญญาบาวริงนี้ จึงมีส่วนผลักดันให้เกิดการยกเลิกระบบไพร่ในสมัยต่อมา






สภาพการณ์ทางด้านสังคม





  • สังคมไทยก่อนการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 ประกอบด้วย 1.พระมหากษัตริย์ ทรงมีฐานะประดุจดังเทวราชา ธรรมราชา และพุทธราชา ผสมผสานกันไป ดังนี้ 1) เทวราชา คิตีนี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานเป็นสมมติเทพตามคติของศาสนาพราหมณ์ที่ยึดถือกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และถือว่าพระองค์เป็นประดุจดังพระนารายณ์หรือพระอิศวรผู้ทรงไว้ซึ่งมหิทธานุภาพ ซึ่งราษฎรจะต้องให้ความเคารพบูชา ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน และยังคงมีการสืบทอดขนธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ที่สะท้อนให้เห็นถึงคติของลัทธิเทวราชาที่ยังคงยึดถือปฏิบัติตามอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยามาโดยตลอด เช่น การสร้างพระราชวัง การสร้างพระที่นั่ง การประกอบพระราชาพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น 2) ธรรมราชา คตินี้ถือกันว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นธรรมราชา โดยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ซึ่งพระพุทธองค์ได้บัญญัติธรรมสำหรับกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นต่างๆ เอาไว้เรียกว่า ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร ซึ่งถ้ากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติธรรมดังกล่าวได้ครบถ้วนแล้ว อาณาประชาราษฎร์ก็จะดำรงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข 3) พุทธราชา คตินี้สืบทอดมาจากความเป็นธรรมราชาของพระมหากษัตริย์ ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงประพฤติปฏิบัติทศพิธรราธรรมและจักรวรรดิวัตรอย่างเคร่งครัดก็เปรียบเสมือนพระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีในฐานะพระโพธิสัตว์ เพื่อจะได้ไปตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภพต่อๆไป ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงทรงมีฐานะประดุจดังพุทธราชา คตินิยมเช่นนี้ เห็นได้จากพระนามของรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 ซึ่งมีคำว่า พุทธ นำหน้าพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถวายพระนามรัชกาลที่ 1 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และถวายพระนามรัชกาลที่ 2 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นการกล่าวย้ำให้เห็นความเป็นพุทธราชาของพระมหากษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์ 2. พระบรมวงศานุวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ล้วนแต่เป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศและอิสริยยศ สกุลยศ คือ สิ่งที่แสดงถึงความเป็นผู้สืบสายเลือดของความเป็นเจ้า ได้แก่ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วนอิสริยยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น เช่น มหาอุปราช กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ เป็นต้น 3. ขุนนาง บุคคลที่รับราชาการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนามและตำแหน่งเป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ หรือบรรดาข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการบางคนอาจจะไม่ได้มีฐานเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางนั้นจะต้องอยู่กับศักดินาของตน กล่าวคือผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปก็จะได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็ก เพราะว่าเป็นขุนนางอยู่แล้ว ส่วนข้าราชการแผ่นดินที่มีศักดินาต่ำ 400 ไร่ยังมิได้เรียกว่าเป็นขุนนาง แต่จะอนุโลมเรียกว่าข้าราชการ ยศของขุนนางมี 8 ลำดับ จากสูงสุดไปหาต่ำสุด มีดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมิ่น และพัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระจะอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนนางถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไปมีศักดินาได้ไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้ที่เป็นพัน หมื่น ขุน อาจไม่ได้เป็นขุนนางถ้าศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ ดังนั้นสิทธิ์เป็นขุนนางได้ต้องมีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไป สิทธิ์ตามกฎหมายของขุนนาง มีดังนี้ 1.ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงาน และต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย 2.ข้าราชการที่มียศต่ำกว่าขุนนาง คือ มีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ จะได้รับเอกสารยกเว้นการสักเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้ไม่ได้รวมไปถึงลูกของข้าราชการ และการได้มาถึงเอกสารดังกล่าวจะต้องจ่ายเงินให้กับนายของตนเป็นการตอบแทนด้วย 3.ผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และถ้ามีคดีขึ้นศาลได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้อีกด้วย 4.ก่อน พ.ศ.2367 ขุนนางได้รับการยกเว้นภาษีที่นา ส่วนกฎหมายลักษณะมรดกให้สิทธิ์แก่คนที่ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปในการแบ่งมรดกเมื่อคนผู้นั้นถึงแก่กรรมแล้ว 5.ได้รับการคุ้มครองในเรื่องเกียรติยศ กล่าวคือผู้ใดใช้ถ้อยคำหยาบคายกับผู้ถือศักดินาตั้งแต่ 400 ไร่ขึ้นไปจะถูกลงโทษอย่างหนัก 6.ขุนนางสามารถมีไพร่จำนวนหนึ่งเป็นเสมียนทนายของตนได้ตามยศของตน และตามกฎหมายแล้วขุนนางจะไปไหนมาไหนโดยไม่มีคนรับใช้ไม่ได้ 4. ไพร่ คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นราษฎรสามัญชนหรือไพร่นั้น คือ ชายฉกรรจ์ที่ต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วย แบ่งตามสังกัดออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่เป็นชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี จะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย( เจ้านายหรือขุนนาง) ตามกฎหมายกำหนด เพื่อรับใช้มูลนายเป็นการส่วนตัว เพื่อว่ามูลนายจะได้รู้สึกเป็นเกียรติ และเป็นกำลังให้มูลนายที่รับใช้งานของพระมหากษัตริย์ให้ดำเนินไปด้วยดีไม่มีอุปสรรค ไพร่สมจึงสมบัติของนายมูลนายและต้องรับใช้มูลนายยังมีชีวิตอยู่ในตำแหน่งราชาการ เนื่องจากสมัยก่อนขุนนางข้าราชการยังไม่มีเงินเดือน ดังนั้นการควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงผลประโยชน์ เช่น การได้รับส่วนลดจากการเก็บเงินค่าราชการหรือได้รับของกำนัลจากไพร่ แต่เมื่อนายมูลถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง 2) ไพร่หลวง ไพร่สมที่มีอายุ 20 ปี มีหน้าที่รับราชการอยู่ในกรมกองต่าง ๆ มีขุนนางเป็นผู้ดูแลควบคุม ในยามศึกสงครามต้องออกรบป้องกันบ้านเมือง ในยามบ้านเมืองปกติต้องทำงานให้แก่แผ่นดินปีละ 6 เดือน และออกไปประกอบอาชีพ 6 เดือน สลับเดือนไปจนครบ 6 เดือน เรียกว่า การเข้าเดือนออกเดือน หรือการเข้าเวรรับราชการ คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 1 เดือนสลับกันไป จนครบ 6 เดือน ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(รัชกาลที่ 1) ไพร่หลวงถูกเกณฑ์แรงงานปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน สลับกันไป หากบ้านเมืองว่างเว้นจากสงครามเป็นเวลานานจะมีการผ่อนผันให้ไพร่หลวงส่งสิ่งของ ซึ่งเป็นทรัพย์กรในท้องถิ่น หรือ เงิน (เดือนละ 2 บาท หรือปีละ 12 บาท แทนการเข้าเวรรับราชการ ไพร่หลวงที่ส่งสิ่งของหรือเงิน แทนการเข้าเวรรับราชการนี้ เรียกว่า ไพร่ส่วย ฐานะโดยทั่วไปของไพร่นั้นอาจมีอิสระในด้านแรงงานของตนเองอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด เพราะไพร่หลวงนั้นปีหนึ่งจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปทำงานให้กับทางราชการ 4 เดือนบ้าง 3 เดือนบ้าง ส่วนในเรื่องการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล ไพร่ไม่มีสิทธิ์ตั้งทนายของตนเอง อีกทั้งไพร่จุถูกจำกัดสิทธิ์ในการเคลื่อนย้ายที่อยู่เพื่อความสะดวกในการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้ถ้าไพร่เรียกชื่อยศตำแหน่งขุนนางผิดไปจากความเป็นจริงจะต้องถูกปรับโทษ ส่วนในเรืองการปรับไหม ไพร่ก็เสียเปรียบขุนนาง เพราะเมื่อเวลาขุนนางทำผิดต่อไพร่ก็จะใช้ศักดินาขุนนางปรับขุนนาง แต่เมื่อไพร่ทำผิดต่อขุนนาง กลับไม่ใช้ศักดินาไพร่ปรับไพร่ แต่ใช้ศักดินาของขุนนางปรับไพร่ อย่างไรก็ตาม ไพร่ก็ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถ้าตนเองมีมูลนายต้นสังกัดหรือไพร่ที่มีศักดินาระหว่าง 10-25 ไร่ แล้วแต่ลักษณะและประเภทของไพร่ นอกจากนี้ไพร่สามารถมอบที่ดินให้แก่บุตรหลานของตนเองได้ ถ้าใครบุกรุกจะถูกปรับ แต่ถ้าบุตรหลานปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าเป็นเวลา 9-10 ปี ไม่ทำให้ผลผลิตงอกเงย ที่ดินผืนนั้นต้องยกให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อไป นอกจากนี้ไพร่ยังสามารถเปลี่ยนฐานะตนเองได้เป็น 2 ระดับ คือ ถ้าเลื่อนระดับก็เป็นขุนนาง ถ้าลดระดับก็เป็นทาส




ทาส





  • ทาส คือ ราษฎรสามัญชนอีกประเภทหนึ่ง ที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่จะตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส ซึ่งนายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนจะมีการประกาศเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ 1) ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นท่าน ต้องหาเงินมาไถ่ถอนตนเองจึงเป็นอิสระได้ 2) ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกทาสที่เกิดมาในเวลาที่พ่อแม่ของตนเป็นทาส 3) ทาสได้มาจากบิดามารดา คือ ทาสที่ได้มาจากบิดามารดให้ยกให้เป็นทาส 4) ทาสท่านให้ คือ ทาสที่ได้มาจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง โดยให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง 5) ทาสทุพภิกภัย คือ ทาสที่ขายตนเองให้เป็นทาสในยามข้างยากหมากแพง 6) ทาสที่ได้จากการช่วยเหลือให้คนพ้นโทษทัณฑ์ 7) ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากศึกสงคราม สิทธิโดยทั่วไปของเจาของทาสนั้นมีสิทธิ์ที่จะลงโทษทัณฑ์ จำโซ่ตรวน ขื่อคา หวดด้วยหนัง หรือสามารถทำทารุณกรรมต่างๆ กับทาสของตนเองได้ถึงบาดเจ็บสาหัส หรือแม้แต่ตาบอกก็ทำได้ แต่อย่าให้ถึงตายเท่านั้น รวมทั้งนายมีอำนาจสั่งทาสของตนให้ไปรับโทษคดีใดๆแทนบุตรภรรยาและญาติพี่น้องของนายเงินได้ นอกจากนี้นายยังมีอำนาจที่จะสั่งให้ทาสไปราชการแทนได้เช่นกัน แม้ราชการนั้นจะเป็นเหตุให้ทาสต้องตายก็ตาม ถ้านายทาสสั่งให้ทาสดูแลรักษาสิ่งของใดๆ ถ้าหากทรัพย์สินสิ่งของนั้นแตกหักเสียหาย ทาสก็ต้องใช้ราคาแก่นายทาสจนเต็ม นอกจากนั้นนายทาสมีสิทธิ์ที่จะขับทาสออกไปจากบ้านได้หรือสามารถขายทาสได้ เมื่อตนไม่สามารถเลี้ยงดูทาสนั้นต่อไปได้ หรือถ้าหากทาสหลบหนีไปแห่งใด เมื่อเจ้าเบี้ยนายเงินได้จ่ายเงินเป็นค่าบำเหน็จรางวัลแก่ผู้คุมตัวทาสมาได้เท่าได้ เจ้าของทาสมีสิทธิ์คิดเงินจากทาสที่หลบหนี้ได้ทั้งหมด เป็นต้น จะเห็นได้ว่า อำนาจของนายมที่มีเหนือทาสนั้นมากพอที่จะผลทำให้ทาสหมดอิสรภาพในตนเอง ตราบใดที่ยังไม่หลุดพ้นจากความเป็นทาส ตราบนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะมีกรรมสิทธิ์ในแรงงานของตนเองได้ แต่โอกาสที่ทาสจะได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสก็ต่อเมื่อกรณีต่อไปนี้ 1.หาเงินมาไถ่ถอนตัวเอง 2.นายทาสอนุญาตบวชเป็นพระภิกษุ 3.เมื่อเกิดศึกสงครามรับอาสาไปรบ และรอดกลับมา หรือถูกจับเป็นเชลย แต่หนีรอดกลับมาได้ ถือว่าทาสผู้นั้นเป็นอิสระ 4.ได้รับอนุญาตให้แต่งงานกับนายทาส และลูกที่เกิดมาก็พ้นจากความเป็นทาสด้วย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทาสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในตอนปลายรัชกาลที่ 3 คาดว่าผู้ที่เป็นทาสมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้คนที่ตกเป็นทาสก็เพราะมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ทั้งพวกชาวนาส่วนใหญ่ที่ต้องเป็นหนี้สินก็เนื่องมาจากการเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้ผล แต่ก็มีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยอมขายตัวเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำงาน นอกจากนี้ในปลายรัชกาลที่ 3 ยังมีทาสอีกพวกหนึ่ง คือ ทาสเชลย ซึ่งมีอยู่ถึง 46,000 คน ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงอนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน และโปรดให้จ้างกรรมกรซึ่งส่วนมากเป็นคนจีนทำงานก่อนสร้างที่ต้องใช้เวลาและแรงงานเป็นจำนวนมาก แต่ถึงกระนั้นการเกณฑ์แรงงานไพร่ก็ยังคงมีอยู่ต่อไปมิได้ถูกยกเลิกไป เพราะทรงเกรงว่า ถ้าเปลี่ยนสถานะของไพร่ให้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานจะทำให้ขุนนางไม่พอใจ ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2410 ทรงประกาศห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตรภรรยาลงเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ โดยทรงพิจารณาว่าไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับเด็กและสตรี นอกจากนี้ยังทรงประกาศให้เสรีภาพแก่สตรีที่มีอายุบรรลุนิติภาวะแล้ว มีสิทธิ์เลือกสามีได้โดยบิดาจะบังคับมิได้อีกด้วย นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการปลดปล่อยให้สตรีมีความเป็นอิสระแก่ตนเองมากยิ่งขึ้น






การยกเลิกระบบไพร่





  • 1.1 สาเหตุในการยกเลิกระบบไพร่ ซึ่งเป็นระบบที่มีในสังคมไทยเป็นเวลาช้านาน เพราะอิทธิพลจากโลกตะวันตก ที่ให้ประชาชนมีอิสระในแรงงานของตนหรือที่เรียกว่า เสรีชนความต้องการด้านกำลังคน สำหรับรองรับการปฏิรูประบบราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตความต้องการแรงงานเสรีสำหรับระบบธุรกิจการค้าแบบเสรี ซึ่งขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางภายหลังสนธิสัญญาบาวริงเป็นต้นมาความจำเป็นที่จะต้องแปลงไพร่ให้กลายเป็นทหารประจำการติดอาวุธสมัยใหม่ตามนโยบายปฏิรูปกิจการทหารของประเทศความจำเป็นในการลดกระแสกดดันจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก 1.2 ขั้นตอนในการยกเลิกระบบไพร่ รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ.2413 ภายหลังที่ครองราชสมบัติได้เพียง 2 ปี โดยทรงตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ใน พ.ศ.2413 และทรงคัดเลือกเอาบรรดาราชวงศ์และบุตรหลานขุนนางที่ได้ถวายตัว ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเป็นจำนวนมากกว่าพันคน โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง)เป็นผู้บังคับการคนแรก ครั้นถึง พ.ศ.2423 ทรงโปรดเกล้าฯให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม) จัดตั้งกรมทหารหน้า ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกรมยุทธนาธิการและกระทรวงกลาโหมตามลำดับ โดยการรับสมัครบรรดาพวกไพร่ที่นายของตนตายหรือสิ้นพระชนม์มารับราชการเป็นทหารสมัครเป็นจำนวนมาก โดยมีการพระราชทานเงินให้คนละ 4 บาท ผ้า 1 สำรับ เพื่อเป็นสินน้ำใจแก่ทหารสมัครทุกคน บรรดาไพร่ที่มาสมัคร ล้วนแต่เป็นไพร่ที่มิได้รับการสักเลกที่ข้อมือเพื่อแสดงสังกัดทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงการที่บรรดามูลนายเบียดบังไพร่ไว้ใช้ส่วนตัวกันมาก จากการรับสมัครในกรุงเทพฯก็ขยายออกไปยังหัวเมืองชั้นนอก ซึ่งมีคนมาสมัครกันเป็นจำนวนมากขึ้น ทางราชการจึงตอบแทนด้วยการแจกเครื่องแบบสักหลาดสีดำ 1 ชุด เงินเดือนๆละ 10 บาท รวมทั้งอาหาร 2 เวลาด้วย ต่อมาใน พ.ศ.2431 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติทหาร ซึ่งสิทธิหน้าที่ของพลทหาร ทั้งทหารบกและทหารเรือ กล่าวคือ พลทหารสมัครจะต้องรับราชการไปจนครบ 10 ปี จึงจะครบเกษียณอายุ แต่ถ้ายังสมัครรับราชการต่อไปทางราชการก็จะเพิ่มเบี้ยหวัดให้จากเงินเดือนตามอัตราเดิมคือเดือนละ 2 บาท ส่วนเบี้ยหวัดจ่ายปีละครั้งเรียกว่า เงินปี ส่วนในราชการพิเศษถ้ามีความดีความชอบก็จะได้รับรางวัลเป็นครั้งคราว ไม่มีกำหนด เรียกว่า เงินรางวัล พ.ศ.2434 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ โดยยกกรมยุทธนาธิการเดิมขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ มีหน้าที่บังคับบัญชาผู้คนที่เกี่ยวกับการทหารบก ทหารเรือ ตามแบบแผนใหม่ ขณะเดียวกันตามระเบียบเดิมก็เร่งรัดให้กรมพระสุรัสวดีนำตัวไพร่ที่หลบหนีการสักเลกมาสักเลกเป็นไพร่หลวง และเร่งรัดเก็บเงินค่าราชการจากไพร่ที่ไม่ประสงค์จะถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้กับทางราชการ พ.ศ.2439 ได้มีการประกาศยกรมพระสุรัสวดีเข้ามาสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2435 และใน พ.ศ.2439 ได้ประกาศให้บรรดาไพร่หลวงที่ไม่มาเข้าเดือนประจำการ ต้องเสียเงินแทนค่าแรงงานปีละ 18 ปี ส่วนไพร่ส่วยถ้าไม่ได้ส่งของต้องส่งเงินแทนตั้งแต่ 6-12 บาท ตามชนิดของสิ่งของที่ต้องเกณฑ์ส่ง และตั้งแต่ พ.ศ.2440 เป็นต้นไป บรรดาไพร่หลวงที่ต้องเสียเงินค่าราชการปีละเกิน 6 บาทขึ้นไป ให้เก็บเงินค่าราชการเพียงปีละ 6 บาทเท่านั้น พ.ศ.2448 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่มีอายุ 18 ปี รับราชการในกองประจำการมีกำหนด 2 ปี แล้วปลดไปเป็นกองหนุน ส่วนผู้ที่ได้รับราชการทหารในกองประจำการแล้ว ทรงโปรดเกล้าฯให้ผู้นั้นพ้นจากการเสียเงินค่าราชการใดๆจนตลอดชีวิต ทุกคนที่เป็นชายยกเว้นคนจีนและคนป่าดอยเท่านั้น จะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น ดังนั้นพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารรัตนโกสินทร์ศก 124 ฉบับนี้จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกระบบไพร่ที่มานานในสังคมไทย 1.3 ผลของการยกเลิกระบบไพร่ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมดังต่อไปนี้คือ 1)ผลกระทบทางตรง คือ ฐานอำนาจของขุนนางที่มีไพร่อยู่ในสังกัด ทั้งอำนาจการควบคุมกำลังคนก็ตกอยู่ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยสิ้นเชิง ขุนนางไม่สามารถจะแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานของไพร่อีกต่อไป การมีกำลังคนอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์โดยตรง จะทำให้พระมหากษัตริย์มีฐานอำนาจทางการเมืองที่มั่นคงยิ่งขึ้น 2)ผลกระทบทางอ้อม คือก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านธุรกิจการลงทุนมากขึ้น เพราะการเลิกระบบไพร่ได้ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งจะสามารถสนองความต้องการแรงงานเสรีของระบบทุนนิยม ซึ่งกำลังเริ่มต้นในสังคมไทยภายหลังสนธิสัญญาบาวริงใน พ.ศ.2398 เป็นต้นมา และแรงงานเสรีจะเป็นแรงงานที่มีคุณภาพเพราะจะได้รับค่าตอบแทนจากนายจ้าง




การเลิกทาส





2.1 สาเหตุในการเลิกทาส มีสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้ 1) อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มุ่งปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนได้แพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทยภายหลังที่ไทยได้ติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย 2) อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่กำลงส่อเค้าว่าจะคุกคามไทย ถ้าสังคมไทยยังมีลักษณะป่าเถื่อนล้าหลัง และพลเมืองส่วนใหญ่ยังตกเป็นทาส โดยที่มหาอำนาจตะวันตกจะถือเป็นข้ออ้างเข้ามาช่วยสร้างความเจริญให้ด้วยการเข้ามายึดครอง ดังนั้น การปรับสังคมด้วยการเลิกทาสย่อมเป็นการลดกระแสกดดันของลัทธิจักรวรรดินิยมได้ 3) ความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานเสรีเพิ่มมากขึ้น โดยระบบการค้าเสรีที่เกิดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาบาวริง ทำให้ธุรกิจการค้าและการผลิตต่างๆ ขยายตัวออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าว ซึ่งการปลดปล่อยทาสให้มีอิสระในแรงงานของตนย่อมสนองตอบต่อความต้องการทางด้านแรงงานเสรีของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่กำลังขยายตัว 4) ความจำเป็นทางด้านการปกครองที่รัชกาลที่ 5 ทรงมีแผนการปฏิรูประบบบริหารราชการให้ทันสมัย ดังนั้นเมื่อทรงมีแผนการเช่นนี้แล้ว การปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนย่อมจะสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนซึ่งมีอิสระในแรงงานของตนเป็นอย่างมาก เพื่อรองรับการขยายงานของระบบบริหารราชการสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต 5) เกิดจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้คนไทยมีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันทุกคน จึงมีพระราชดำริจะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย 2.2 ขั้นตอนการเลิกทาส การปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองนั้นจำเป็นจะต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะสังคมไทยมีทาสมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ การยกเลิกทาสโดยฉับพลันย่อมจะกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของกลุ่มมูลนายที่มีทาสในครอบครอง ดังนั้นรัชกาลที่ 5 จึงทรงเตรียมแผนการในการเลิกทาสอย่างมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) การออกประกาศให้ทำการสำรวจจำนวนทาสใน พ.ศ.2417 คือ ได้มีการประกาศให้ผู้ที่มีทาสในครอบครองได้ทำการสำรวจตรวจสอบจำนวนทาสในครอบครองของตนว่ามีอยู่เท่าไร รวมทั้งระยะเวลาที่ทาสจะต้องเป็นทาสจนกว่าจะพ้นค่าตัว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการวางแผนขั้นต่อไป โดยเฉพาะให้มีการสำรวจและจดทะเบียนทาสที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ.2411 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นมา ทั้งนี้เพื่อเตรียมการเอาไว้สำหรับการวางแผนเลิกทาสต่อไป 2) การประกาศใช้พระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติดังนี้ (1) ถ้าทาสคนใดที่ถูกขายตัวเป็นทาสเกิดใน พ.ศ.2411 และในปีต่อๆ มาจนถึงอายุ 21 ปีให้พ้นค่าตัวเป็นไท ไม่ว่าทาสจะอยู่กับมูลนายเดิม หรือย้ายโอนไปอยู่กับนายมูลใหม่ ส่วนทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411 ก็คงเป็นทาสต่อไปตามกฎหมายเดิม (2) ถึงแม้ว่าบุคคลซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 เป็นต้นมานั้น จะได้รับการปลดปล่อยตามเงื่อนไขเวลาที่กล่าวมาแล้ว ต่อเมื่อถึง พ.ศ.2431 เป็นต้นไปก็ตาม แต่ก็สามารถได้รับการไถ่ถอนให้พ้นจากความเป็นทาสได้ในราคาพิเศษซึ่งถูกกว่าทาสที่เกิดก่อน พ.ศ.2411 (3) กำหนดว่าถ้าผู้ใดจะนำบุตรหลานของตนไปขายเป็นทาสซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2411 และมีอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมาไปขายเป็นทาส จะต้องขายในอัตราซึ่งกำหนดไว้ในพิกัดกระเษียรอายุใหม่ในรัชกาลที่ 5 (4) ห้ามผู้ที่เกิดใน พ.ศ.2411 หรือบิดามารดาของตนเองขายตนเป็นทาส โดยที่ตนเองและบิดามารดากล่าวเท็จว่ามิได้เกิดใน พ.ศ.2411 จะต้องถูกลงโทษด้วย (5) ห้ามมูลนายคิดค่าข้าว ค่าน้ำ กับเด็กชายหญิงที่ติดตามพ่อแม่ พี่น้อง ป้า น้า อา ของตนที่ขายตัวเป็นทาส จนกลายเป็นเจ้าหนี้ของเด็กและเอาเด็กเป็นทาสต่อไปด้วย พระราชบัญญัติกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทย พ.ศ.2417 นี้ มิได้ใช้บังคับในทุกมณฑล มีบางมณฑลมิได้บังคับใช้ คือ มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือหรือมณฑลพายัพ มณฑลตะวันออกหรือมณฑลบูรพา มณฑลไทยบุรี กลันตัน ตรังกานู ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าขณะนั้นมณฑลเหล่านี้ยังเป็นประเทศราชอยู่ จึงไม่นับรวมเข้ามาในพระราชอาณาเขตตามความหมายของพระราชบัญญัตินี้ 3) การประกาศเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ (มณฑลพายัพ) พ.ศ.2443 พ.ศ.2443 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมุ่งหมายที่จะให้การเลิกทาสในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือได้ดำเนินไปอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2443 เป็นต้นไป 4) การประกาศแผนการเลิกทาสในมณฑลบูรพาใน พ.ศ.2447 พ.ศ.2447 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา เพื่อเตรียมการเลิกทาสในมณฑลบูรพาอย่างเป็นขั้นตอน แต่ต่อมาใน พ.ศ.2449 ไทยก็เสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส 5) การประกาศใช้พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ใน พ.ศ. 2448 พ.ศ.2448 รัชกาลที่ 5 ทรงโปรกเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 ซึ่งถือว่าเป็นแผนการเลิกทาสขั้นสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการกำหนดหลักการและวิธีการในการปลดปล่อยที่สำคัญบางประการ คือ (1) กำหนดให้บรรดาลูกทาสที่เกิดมาไม่ต้องตกเป็นทาสในเรือนเบี้ยดังแต่ก่อนและห้ามคนที่เป็นไทแก่ตัวและทาสที่หลุดพ้นค่าตัวกลับไปเป็นทาสอีก (2) ให้มีการลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท ซึ่งจะทำให้ทาสเป็นไทแก่ตัวเร็วขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ใช้ พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124 กับมณฑลพายัพอีกด้วย จะเห็นได้ว่าพระบรมราชโองการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระแก่ตนเองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำเนินไปในลักษณะอย่างเป็นขั้นตอน โดยอาศัยเวลาเพื่อให้เกิดการปรับตัวพร้อมที่จะรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของบรรดาเจ้าของทาส อันจะทำให้การปลดปล่อยทาสดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะต่อมา ทั้งนี้เป็นเพราะความสุขุมคัมภีรภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยแท้







ผลกระทบอันเกิดจากการเลิกทาส







  • 1) ทำให้บรรดาเจ้าของทาสต้องสูญเสียประโยชน์อันเกิดจากแรงงานทาสที่เคยได้รับมาเป็นเวลานาน 2) ทำให้เกิดแรงงานเสรี ซึ่งช่วยให้การดำเนินธุรกิจการลงทุนมีความคล่องตัวมากขึ้น เพราะมีแรงงานเสรีซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยทาสในตลาดแรงงานมากขึ้น อันจะส่งผลให้การลงทุนทางด้านธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรมขยายตัวออกไปมากขึ้น




ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์



สมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325 - ปัจจุบัน) รูปแบบการปกครองของกรุงศรีอยุธยาคงใช้อยู่เรื่อยมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองขึ้น
อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าการปรับปรุงระเบียบแบบแผนการปกครอง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการวางแนวรากฐานเตรียมพร้อมไว้สำหรับการปฏิรูปมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยพระองค์ได้ทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาอารยธรรมตะวันตก ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับทราบถึงความเจริญก้าวหน้าในหลักการปกครองของชาติตะวันตกและนำมาปรับปรุงการปกครองของไทย
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยต้องตกเป็นอาณานิคมของประเทศทั้งสอง ส่วนประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ จึงแข่งขันกันเพื่อเข้ามามีอิทธิพลเหนือประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงดำเนินนโยบายทางการทูต เพื่อมิให้ประเทศมหาอำนาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถือเป็นข้ออ้างในการยึดครองประเทศไทย โดยการเร่งพัฒนาประเทศให้มีความเจริญในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว และศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจในภาษา วัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ของชาติตะวันตก อันจะทำให้การเจรจากับประเทศเหล่านั้นดีขึ้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีแนวความคิดที่มีประโยชน์ต่อการปกครองอย่างยิ่ง 2 ประการ คือ 1) การศึกษาภาษาต่างประเทศ พระองค์ทรงศึกษาภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง เพื่อจะได้ใช้เจรจากับประเทศมหาอำนาจ กับส่งเสริมให้ข้าราชการได้ศึกษาหาความรู้ให้สามารถเข้าใจภาษาต่างประเทศ จะได้ไม่เสียเปรียบชาวต่างประเทศ 2) การบริหารราชการแผ่นดิน พระองค์ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาช่วยราชการด้านต่าง ๆ เช่น ครูฝึกทหาร ครูสอนภาษาอังกฤษ ผู้จัดการท่าเรือ ผู้อำนวยการศุลกากร เป็นต้น เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยมีความเจริญในด้านต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ฝึกให้ข้าราชการไทยได้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติราชการต่อไปด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครอง เพราะทรงเห็นว่าเป็นหนทางหนึ่งที่จะรักษาเอกราชของบ้านเมืองไว้ได้ในช่วงการขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก การปรับปรุงการปกครองให้ทันสมัย ทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เจริญแล้ว สามารถปกครองดูแลพัฒนาบ้านเมืองได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ประเทศชาติมีรายได้ในการทำนุบำรุงบ้านเมืองมากขึ้น ทำให้สายตาของชาวต่างชาติมองประเทศไทยต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ และด้วยการวางวิเทโศบายทางการทูตกับชาติตะวันตกอย่างเหมาะสม ยอมรับว่าชาวยุโรปเป็นชาติที่เจริญ ให้เกียรติและยกย่อง พร้อมกับเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติบางอย่าง เพื่อให้เห็นว่าไทยไม่ใช่ชนชาติป่าเถื่อน เช่น ให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า นอกจากนั้น ยังยอมผ่อนปรนอย่างชาญฉลาด แม้จะเสียผลประโยชน์หรือดินแดนไปบ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย ยังสามารถรักษาส่วนใหญ่ไว้ได้ ทำให้ประเทศไทยคงความเป็นชาติที่มีเอกราชมาได้ตลอด
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวความคิดในการปฏิรูปการปกครองอยู่ 3 ประการ คือ 1) การรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อมิให้ชาติตะวันตกอ้างเอาดินแดนไปยึดครองอีก ถ้าอำนาจของรัฐบาลกลางแผ่ไปถึงอาณาเขตใด ก็เป็นการยืนยันว่าเป็นอาณาเขตของประเทศไทย 2) การศาลและกฎหมายที่มีมาตรฐาน จากการยอมเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในรัชกาลที่ 4 เป็นเพราะประเทศอาณานิคมอ้างว่าศาลไทยไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้น รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระราชดำริที่จะปรับปรุงการศาลยุติธรรมและกฎหมายไทยให้เป็นสากลมากขึ้น3) การพัฒนาประเทศ พระองค์ทรงริเริ่มนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น สร้างถนน ขุดคูคลอง จัดให้มีการปกครอง ไฟฟ้า ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ เป็นต้น
การปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ก่อให้เกิดการจัดระเบียบการปกครองที่สำคัญ จำแนกได้ 3 ส่วน คือ
1) การปกครองส่วนกลางการปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลางของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก รวมทั้งจตุสดมภ์ โดยแบ่งการบริหารราชการออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงที่ตั้งขึ้นทั้งหมด เมื่อ พ.ศ.2435 มี 12 กระทรวง คือ (1) มหาดไทย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว (2) กลาโหม รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้ หัวเมืองฝ่ายตะวันออก ตะวันตก และเมืองมลายู (3) ต่างประเทศ รับผิดชอบเกี่ยวกับการต่างประเทศ (4) วัง รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการในพระราชวัง (5) เมืองหรือนครบาล รับผิดชอบเกี่ยวกับการตำรวจและราชทัณฑ์ (6) เกษตราธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการเพาะปลูก เหมืองแร่ ป่าไม้ (7) คลัง รับผิดชอบเกี่ยวกับภาษีอากรและงบประมาณแผ่นดิน (8) ยุติธรรม รับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคดีและการศาล (9) ยุทธนาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการทหาร (10) ธรรมการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา การสาธารณสุขและสงฆ์ (11) โยธาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการก่อสร้าง ถนน คลอง การช่าง ไปรษณีย์โทรเลข และรถไฟ (12) มุรธาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาตราแผ่นดิน และงานระเบียบสารบรรณ
ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และยุบกระทรวงมุรธาธิการไปรวมกับกระทรวงวัง คงเหลือเพียง 10 กระทรวง เสนาบดีทุกกระทรวงมีฐานะเท่าเทียมกัน และประชุมร่วมกันเป็นเสนาบดีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาและช่วยบริหารราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบหมาย เพราะอำนาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นของพระมหากษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงแต่งตั้ง "สภาที่ปรึกษาในพระองค์" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "รัฐมนตรีสภา" ประกอบด้วย เสนาบดี หรือผู้แทน กับผู้ที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รวมกันไม่น้อยกว่า 12 คน จุดประสงค์เพื่อให้เป็นที่ปรึกษาและคอยทัดทานอำนาจพระมหากษัตริย์ แต่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาดังกล่าวไม่ได้บรรลุจุดประสงค์ที่ทรงหวังไว้ เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ไม่กล้าโต้แย้งพระราชดำริ คณะที่ปรึกษาส่วนใหญ่มักพอใจที่จะปฏิบัติตามมากกว่าที่จะแสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงแต่งตั้ง "องคมนตรีสภา" ขึ้นอีก ประกอบด้วยสมาชิกเมื่อแรกตั้งถึง 49 คน มีทั้งสามัญชน ตั้งแต่ชั้นหลวงถึงเจ้าพระยา และพระราชวงศ์ องคมนตรีสภานี้อยู่ในฐานะรองจากรัฐมนตรีสภา เพราะข้อความที่ปรึกษา และตกลงกันในองคมนตรีสภาแล้วจะต้องนำเข้าที่ประชุมรัฐมนตรีสภาก่อนแล้วจึงจะเสนอเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ
2) การปกครองส่วนภูมิภาคพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ยกเลิกการปกครองหัวเมือง และให้เปลี่ยนแปลงเป็นการปกครองส่วนภูมิภาคโดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ขึ้น เพื่อจัดการปกครองเป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ดังนี้ (1) มณฑลเทศาภิบาล ประกอบด้วยเมืองตั้งแต่ 2 เมืองขึ้นไป มีสมุหเทศาภิบาล ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งไปปกครองดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ (2) เมือง ประกอบด้วยอำเภอหลายอำเภอ มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ ขึ้นตรงต่อข้าหลวงเทศาภิบาล (3) อำเภอ ประกอบด้วยท้องที่หลาย ๆ ตำบล มีนายอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบ (4) ตำบล ประกอบด้วยท้องที่ 10 - 20 หมู่บ้าน มีกำนันซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ (5) หมู่บ้าน ประกอบด้วยบ้านเรือนประมาณ 10 บ้านขึ้นไป มีราษฎรอาศัยประมาณ 100 คน เป็นหน่วยปกครองที่เล็กที่สุด มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกเลิก มณฑลเทศาภิบาล และเปลี่ยน เมือง เป็น จังหวัด
3) การปกครองส่วนท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาล ซึ่งมีหน้าที่คล้ายเทศบาลในปัจจุบัน เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2440 โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) ขึ้นบังคับใช้ในกรุงเทพฯ ต่อมาใน ร.ศ.124 (พ.ศ. 2448) ได้ขยายไปที่ท่าฉลอม ปรากฏว่าดำเนินการได้ผลดีเป็นอย่างมาก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ร.ศ.127 (พ.ศ.2451) ขึ้น โดยแบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ประเภท คือ สุขาภิบาลเมืองและสุขาภิบาลตำบล ท้องถิ่นใดเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลประเภทใด ก็ให้ประกาศตั้งสุขาภิบาลในท้องถิ่นนั้น
แม้ว่าการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์จะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พระราชกรณียกิจบางประการของพระมหากษัตริย์ก็ถือได้ว่าเป็นการปูพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงดำเนินการดังต่อไปนี้ 1) การเลิกทาส ทรงประกาศเลิกทาสเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2417 นโยบายการเลิกทาสของพระองค์นั้นเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทัดเทียมกัน อันเป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย 2) การสนับสนุนการศึกษา ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้มีโอกาสเล่าเรียน ศึกษาหาความรู้ ตั้งทุนพระราชทาน ส่งผู้มีความสามารถไปศึกษาต่อต่างประเทศ จากการสนับสนุนการศึกษาอย่างกว้างขวางนี้ นับได้ว่าเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการปกครองประเทศสู่ระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา 3) การปฏิรูปการปกครอง ทรงเปิดโอกาสให้ข้าราชการมีส่วนรับผิดชอบในการบริหารมากขึ้น ทรงสนับสนุนการปกครองท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งสุขาภิบาล ทำให้ประชาชนธรรมดามีส่วนและมีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์การบริหารการปกครอง ตามหลักการประชาธิปไตยที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนในการปกครองบ้านเมือง
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีการส่งเสริมการศึกษาให้แพร่หลาย มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง และสนับสนุนให้ทุนหลวงโดยส่งนักเรียนไปเรียนในต่างประเทศ มีการศึกษาภาคบังคับ โดยกำหนดว่าเด็กที่มีอายุครบเกณฑ์ 7 ปี ต้องเข้ารับการศึกษาขั้นประถมศึกษา ทำให้ประชาชนมีการศึกษาเพิ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงนิยมระบอบประชาธิปไตย โดยได้ทรงตั้ง "เมืองสมมุติดุสิตธานี" ขึ้นในบริเวณวังพญาไท จำลองรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นใช้ในเมืองสมมุตินั้น โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีรัฐธรรมนูญการปกครองลักษณะนคราภิบาล ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง และให้ข้าราชบริพารสมมุติตนเองเป็นราษฎรของดุสิตธานี มีการจัดตั้งสภาการเมืองและเปิดโอกาสให้ราษฎรสมมุติใช้สิทธิใช้เสียงแบบประชาธิปไตย เป็นเสมือนการฝึกหัดการปกครองแบบประชาธิปไตย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่นักหนังสือพิมพ์ ในระหว่างเสด็จเยี่ยมเยียนสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2474 ว่า พระองค์ทรงเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชน เพราะทรงเห็นว่าคนไทยมีการศึกษาดีขึ้น มีความคิดอ่าน และสนใจทางการเมืองมากขึ้น เมื่อเสด็จกลับมา พระองค์ทรงมอบให้พระศรีวิสารวาจา ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงการต่างประเทศ และนายเรมอน สตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น แต่ดำเนินการไม่ทันแล้วเสร็จ ก็มีการปฏิวัติขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย (www.parliamentjunior.in.th)
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย มีความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบ
ประชาธิปไตย เริ่มปรากฏให้เห็นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2427) และมีเหตุการณ์อื่นอันเป็นแรงผลักดันมากขึ้น สืบสานความคิดมาเป็นการยึดอำนาจการปกครองของประเทศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีมาจากประชาชนในยุโรป และอเมริกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 การปกครองของอังกฤษซึ่งค่อยๆ ดำเนินไปสู่ระบบรัฐสภาแห่งเสรีประชาธิปไตย โดยไม่ต้องมีการปฏิวัติเสียเลือดเนื้อ การเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของอเมริกาจากอังกฤษใน พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) และการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2332 (ค.ศ.1789) หลังจากนั้นความคิดแบบประชาธิปไตยก็แพร่ขยายไปยังประเทศต่างๆ ประเทศไทยก็ได้รับแนวความคิดเรื่องการปกครองประเทศระบอบประชาธิปไตยด้วยการติดต่อกับประเทศในยุโรปและอเมริกา
การติดต่อกับต่างประเทศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่มีพระราชไมตรีทางการค้ากับประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2367 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาพวกมิชชันนารีจากประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในประเทศไทย คนไทยเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษ ศึกษาวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ กลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ และกลุ่มข้าราชการก็ศึกษาวิชาการต่างๆ ด้วย ดังนั้นสังคมไทยบางกลุ่มจึงได้มีค่านิยมโลกทัศน์ตามวิทยาการตะวันตก
เมื่อ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2394 นั้นพระองค์ทรงตระหนักว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องยอมเปิดสันติภาพกับประเทศตะวันตกในลักษณะใหม่ และปรับปรุงบ้านเมืองให้ก้าวหน้าเยี่ยงอารยประเทศ ทั้งนี้เพราะเพื่อนบ้านกำลังถูกคุกคามด้วยลัทธิจักรวรรดินิยม จึงทรงเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของไทยมาเป็นการยอมทำสนธิสัญญาตามเงื่อนไขของประเทศตะวันตก และพยายามรักษาไมตรีนั้นไว้เพื่อความอยู่รอดของประเทศต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะปฏิรูปประเทศไทยให้เจริญทัดเทียมกับประเทศตะวันตก ปัจจัยที่จะนำไปสู่จุดหมายได้คือ คน เงิน และการบริหารที่ดี ทรงมีพระราชดำริว่า หนทางแห่งความก้าวหน้าของชาติจะมีมาได้ก็ต้องอาศัยการศึกษาเป็นปัจจัย จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยเด็ดเดี่ยวว่า เยาวชนรุ่นใหม่ทั้งของราชวงศ์และบุตรขุนนางจะต้องได้รับการศึกษาอย่างดีกว่ารุ่นพระองค์เอง ในระยะแรกอิทธิพลของประเทศตะวันตกที่มีต่อประเทศไทยคือ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ หม่อมเจ้าเจ๊ก นพวงศ์ กับพระยาชัยสุรินทร์ (ม.ร.ว. เทวหนึ่ง สิริวงศ์) ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษเป็นพวกแรก นับว่าเป็นครั้งแรกที่ทรงส่งนักเรียนหลวงไปเรียนถึงยุโรป ต่อมาก็ส่งพระราชโอรสและนักศึกษาไปศึกษาวิชาทหารที่ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเดนมาร์ก และประเทศรัสเชีย ก่อนหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคัดเลือกหม่อมเจ้า 14 คน ไปเรียนหนังสือที่สิงคโปร์ 2 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2413 - พ.ศ. 2415 ในโอกาสที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปสิงค์โปร์ในปี พ.ศ. 2413 นั่นเป็นการเตรียมคนที่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบา พระราชภาระในการปรับปรุงประเทศ การเตรียมปัจจัยการเงินเป็นการเตรียมพร้อมประการหนึ่ง ถ้าขาดเงินจะดำเนินกิจการใดให้สำเร็จสมความมุ่งหมายคงจะเป็นไปได้ยาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า การจัดการเงินแบบเก่ามีางรั่วไหลมาพวกเจ้าภาษีนายอากรไม่ส่งเงินเข้าพระคลังครบถ้วนตามจำนวนที่ประมูลได้พระองค์จึงทรงจัดการเรื่องการเงินของแผ่นดินหรือการคลังทันทีที่พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินเต็มที่ เริ่มด้วยให้ตราพระราชบัญญัติตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ จ.ศ. 1235 (พ.ศ. 2416) มีพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติในปี จ.ศ. 1237 (พ.ศ. 2418) เพื่อจะได้ใช้จ่ายทุนบำรุงประเทศ ต่อมาทรงให้จัดทำงบประมาณจัดสรรเงินให้แต่กระทรวงต่างๆ เป็นสัดส่วน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่ทรงทันได้ปรับปรุงการปกครองประเทศให้เป็นไปตามที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ ก็มีกลุ่มเจ้านายและข้า ราชการทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดินเมื่อ ร.ศ. 103 (พ.ศ.2427) ทั้งนี้อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า ที่พระองค์ยังไม่ทรงปรับปรุงงบการบริหารประเทศก่อน พ.ศ. 2428 เพราะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ วิกฤติการณ์
วังหน้า เมื่อพ.ศ. 2417 การที่ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ให้รวมเงินมาอยู่ที่เดียวกัน กระทบกระเทือนต่อเจ้านาย เละข้าราชการ โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวร สถานมงคล กรมหมื่นไชยชาญ วิกฤติการณ์วังหน้าเป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า แสดงถึงปฏิกิริยาโต้ตอบ การริเริ่มดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือสถาบันกษัตริย์ เห็นได้ชัดเจน ว่าเมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมหมืนวิไชยชาญ ทิวงคต ในปี พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปรับปรุงการบริหารการปกครองส่วนกลางเป็น 12 กรม (ต่อมาเรียกว่า กระทรวง) ในปี พ.ศ. 2432
ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ได้เริ่มมีมาแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีความเคลื่อนไหวมาตลอดจนถึงวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 แนวความคิดและความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้แก่
1. การเรียกร้องต้องการ
รัฐธรรมนูญ ของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ.103
2. ร่างรัฐธรรมนูญ แผ่นดินของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
3. บทความเกี่ยวกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของ
เทียนวรรณ
4. ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของกลุ่มกบฏ ร.ศ.130
5. แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องระบอบประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ.103
ร.ศ. 103 ตรงกับ
พ.ศ. 2427 เป็นปีที่ 17 ของการครองราชย์ชองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีเจ้านายและข้าราชการ จำนวนหนึ่งที่รับราชการ ณ สถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน และกรุงปารีส ได้ร่วมกันลงชื่อในเอกสารกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 ทูลเกล้าฯ ถวาย ณ วันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือน 2 ปีวอก ฉอศอ ศักราช 124 ตรงกับวันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ.2427
เจ้านายและข้าราชการที่จัดทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นครั้งนั้น มีพระนามชื่อปรากฏอยู่ท้ายเอกสาร ได้แก่
1. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ (พระเจ้าบรมวงเธอกรมพระนเรศร์ วรฤทธิ์ )
2. พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าโสณบัณฑิต (พระเจ้าบรมวง เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา)
3. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัฒน วิศิษฏ์)
4. พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์)
5. นายนกแก้ว คชเสนี {พระยามหาโยธา)
6. หลวงเดชนายเวร(สุ่น สาตราภัย ต่อมาเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยพิพิธ)
7. บุศย์ เพ็ญกุล (จมื่นไวยวรนาถ)
8. ขุนปฏิภาณพิจิตร(หุ่น)
9. หลวงวิเสศสาลี (นาค)
10. นายเปลี่ยน
11. สัปเลฟเตอร์แนนสะอาด
สาระสำคัญของคำกราบบังคมทูล นี้อยู่สามข้อ กล่าวคือ
1. ภัยอันตรายจะมาถึงบ้านเมือง เนืองจากการปกครองในขณะนั้น
2. การที่จะรักษาบ้านเมืองให้พ้นอันตราย ต้องอาศัยความเปลี่ยนแปลงบำรุงรักษาบ้านเมืองแนวเดียวกับที่ญีปุ่นได้ทำตามแนวการปกครองของประเทศในยุโรป
3. การที่จะจัดการตามข้อ 2 ให้สำเร็จ ต้องลงมือจัดให้เป็นจริงทุกประการ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอบ ความเห็นของคณะที่กราบบังคมทูลจะให้เปลี่ยนแปลงการปกครองว่า พระองค์ทรงตระหนักในอันตรายที่กล่าวมานั้นและไม่ต้องห่วงว่าพระองค์จะทรง “ขัดขวางในการที่จะเสียอำนาจซึ่งเรียกว่า แอบโซลูด พระองค์ทรงกล่าวต่อไปว่าเมื่อพระองค์ทรงครองราชสมบัติใหม่ๆ ทรงไม่มีอำนาจอันใดเลย ขณะพระองค์ทรงมีอำนาจบริบูรณ์ ในเวลาที่ทรงมีอำนาจน้อย ก็มีความลำบาก เวลานี้มีอำนาจมากก็มีความลำบาก พระองค์จึงทรงปรารถนาอำนาจปานกลาง ได้ทรง
ครองราชย์มาถึง 17-18 ปี ได้ทรงศึกษาเหตุการณ์บ้านเมืองอื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่เหมือนคางคกในกะลาครอบหรือทรวอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทรงทำอะไรเลย ที่เรียกร้องให้มีรัฐบาล (คอเวอนเมนต์) ก็มีเสนาบดีเป็นรัฐบาลแล้ว แต่ยังไม่ดี สิ่งที่พระองค์ทรงต้องการคือ “คอเวอนเมนตรีฟอม” หมายถึงให้พนักงานของราชการแผ่นดินทุกๆ กรมทำการให้ได้เต็มที่ ให้ได้ประชุมปรึกษากัน ติดต่อกันง่ายและเร็ว อีกประการหนึ่งทรงหาผู้ทำกฎหมายสละที่ปรึกษากฎหมายการกระทำทั้งสองประการต้องได้สำเร็จก่อน การอื่นๆ ก็จะสำเร็จตลอด
แท้จริงแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราโชบายที่จะทรงปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินมาตั้งแต่พระองค์ทรงมีอำนาจในการปกครองอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ ใน พ.ศ.2417 ได้ทรงสถาปนาสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์เป็นองค์กใหม่ช่วยบริหารประเทศ โดยทรงมีพระราชดำริว่า ราชการบ้านเมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่และที่คั่งค้างมาแต่เดิมนั้น ไม่สามารถที่จะทรงจัดการให้สำเร็จโดยลำพังพระองค์เอง” ถ้ามีผู้ช่วยกัน คิดหลายปัญญาแล้ว การที่รกร้างมาแต่เดิม ก็จะปลดเปลื้องไปทีละน้อยๆ ความดีความเจริญก็ยังเกิดแก่บ้านเมือง... สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) มีสมาชิกเป็นผู้มี
บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา า2 นาย ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาข้อราชการและออกพระราชกำหนดกฎหมายตามพระบรมราชโองการ หรืออาจจะกราบบังคมทูลเสนอความคิดเห็นในการออกกฎหมายใหม่ ส่วนสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) สมาชิกของสภานี้คือ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการระดับต่างๆ มี 49 นาย ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาข้อราชการ และเสนอความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งอาจจะนำไป อภิปรายในสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน แต่ปรากฏว่าสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ไม่ได้มีผลงานหรือจะเรียกว่าประสบความล้มเหลว สมาชิกทั้งสองสภาไม่ค่อยได้แสดงความคิดเห็นตามวิถีทางอันควร อาจเป็นเพราะขาดความรู้ความสามารถ และหรือไม่กล้าที่จะออกความคิดเห็นซึ่งไม่ใช่ลักษณะที่เคยทำมาก่อน



สรุป
ประเทศไทยมีการปกครองแบบสมบรูณาญาสิทธิราชย์มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มข้าราชการและประชาชนให้มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ความคิดที่จะให้มีการปกครองในแนวประชาธิปไตยนี้ ได้รับอิทธิพลจากชาวตะวันตก สือเนื่องจากประเทศไทยได้มีการติดต่อกับชาวตะวันตกตั้งแตั่ชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา
การติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศทางยุโรป นับว่าเป็นความจำเป็นมหาอำนาจตะวันตกได้แข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของไทยได้ตกเป็นอาณานิคมของ
ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ดังนั้น พระบรมวิเทโศบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเน้นหนักไปในทางผูกมิตรกับมหาอำนาจตะวันตกและประเทศในยุโรปอื่นๆ พร้อมกับเร่งศึกษาวิทยาการของชาวตะวันตก เพื่อจะได้ปรับปรุงประเทศให้เป็นแบบอารยประเทศ จากการได้ศึกษาวิทยาการของชาวตะวันตก ทำให้กลุ่มข้าราชการและประชาชนได้รู้เรื่อง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยความรักชาติและประสงค์จะให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองเหมือนประเทศที่ได้ปรับปรุงการบริหารประเทศแล้ว เช่น ประเทศญี่ปุ่น กลุ่มข้าราชการ และประชาชนที่ได้รับการศึกษาหรือได้ไปศึกษาดูงานวิทยาการแบบตะวันตก จึงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลตอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายปกครองประเทศ นอกจากข้อเสนอคำกราบบังคมทูลของกลุ่มเจ้านาย ข้าราชการ ใน ร.ศ. 103 แล้ว ยังมีนักหนังสือพิมพ์คือ เทียนวรรณ ได้เสนอความคิดและอุดมการณ์ประชาธิปไตย ในหน้าหนังสือพิมพ์ เห็นว่าควรมีรัฐสภา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นด้วยกับการที่จะมีการปกครองแบบรัฐสภา และมีรัฐธรรมนูญแต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเรื่องรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ แม้แต่ข้าราชการขของพระองค์บางกลุ่มก็ยังไม่ได้แสดงว่าเข้าใจในระบอบการปกครองประชาธิปไตยนั้น ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจาอยู่หัว ยังทรงปกครองพระเทศชาติด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็ได้ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินสอดคล้องกับการบริหาราชการแผ่นดินของประเทศในยุโรป (http://www.social.th.gs/: 17 ก.ย.51)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีแนวพระราชดำริในเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เหมือนกับสมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงเป็นเหตุให้กลุ่มนายทหารบกชั้นผู้น้อยทำการปฏิวัติการปกครอง แต่ไม่สำเร็จ จึงได้รับสมญานามว่า กบฎ
ร.ศ. 103 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชบายเน้นหนักทางลัทธิชาตินิยม ให้รักชาติ มีความสามัคคี โดยเฉพาะเน้นในเรื่องการจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์

ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงธนบุรี



ประวัติศาสตร์ไทย คือ ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยการปกครองจะมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนถึงการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ และได้ปกครองในระบบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน
ยุคเริ่มแรก
ประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือที่บ้านเชียง โดยสิ่งของที่ขุดพบมาจากในสมัยยุค ๓,๖๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการพัฒนาเครื่องบรอนซ์ และมีการปลูกข้าว รวมถึงการติดต่อระหว่างชุมชนและมีระบอบการปกครองขึ้น มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาที่มาของชนชาติไท ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าชาวไทยในสมัยก่อนเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้นได้มีการทยอยอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายพันปี โดยเชื่อว่าเกิดจากการแสวงหาทรัพยากรใหม่ แต่ทฤษฎีนี้ขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าเชื่อถือได้ ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเดิมชนชาติไท ได้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้างขวางในทางตอนใต้ของจีนจนถึงภาคเหนือของไทยและได้มีการอพยพลงใต้เรื่อย ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นได้อาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ โดยไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอาจเนื่องด้วยดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนในช่วงเวลานั้นยังมีพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่เบาบาง ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงไม่รุนแรง รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวไทนั้นเป็นผู้อ้อนน้อมและประนีประนอม ความสัมพ้นธ์ระหว่างชาวไทยกลุ่มต่างๆ อาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง ในฐานะของผู้มีภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แต่การรวมตัวเป็นนิคมขนาดใหญ่หรือแว่นแคว้นยังไม่ปรากฏ ในเวลาต่อมา เมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นจำนวนมากขึ้น ชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทในภูมิภาค แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่เพียงการเป็นกลุ่มอำนาจย่อย ๆ ภายใต้อำนาจการปกครองของชาวมอญและเขมร กระทั่งอำนาจของเขมรในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มอ่อนกำลังลง กลุ่มชนที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของเขมร รวมทั้งกลุ่มของชาวไทย
ในช่วงต่อมา มีการปกครองของหลายอาณาจักรในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวมาเลย์ ชาวมอญ ชาวเขมร โดยอาณาจักรที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรทวารวดีในตอนกลาง อาณาจักรศรีวิไชยในตอนใต้ และอาณาจักรเขมรซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่นครวัด โดยคนไทยมีการอพยพมาจากดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ของจีน ผ่านทางประเทศลาว




การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาได้สิ้นสุดลงใน พ.ศ.๒๓๑๐ เมื่อพม่าสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงกู้เอกราชกลับคืนมาได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
โดยที่ทรงปราบปรามบรรดาผู้นำกลุ่มอิสระต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา และสามารถรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นปึกแผ่นไว้ได้
จากนั้นได้ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี
สำหรับการปกครองสมัยกรุงธนบุรียังคงใช้รูปแบบการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก






  • การปกครองสมัยกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ลักษณะการปกครองคล้ายกับสมัยอยุธยา มีการควบคุมไพร่เข้มงวดขึ้น โดยมีการสักข้อมือไพร่ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อได้รับอิทธิพลของชาวตะวันตกเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยศึกษาความรู้ต่าง ๆ จากชาติตะวันตกจนกระทั่ง ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ดังนี้ 1. ให้สิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา 2. อนุญาตให้เข้าเฝ้าในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน 3. ออกกฎหมายประกาศรับฎีกาของประชาชนในทุกวันโกน 4. ให้สิทธิสตรีมีโอกาสทางด้านการศึกษา และการสมรส 5. ให้เสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 1. การเลิกทาสและไพร่ 2. การปฏิรูปทางการศึกษา 3. มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อจัดเก็บภาษีอากร 4. จัดทำงบประมาณรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน 5. การสร้างทางรถไฟเพื่อการขนส่ง 6. ปฏิรูปการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ 7. จัดตั้งกระทรวงยุติธรรม 8. ออกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน 9. ตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมืองต่าง ๆ การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 1. ทรงจัดตั้งสภาที่ปรึกษากษัตริย์ 2 สภา คือ รัฐมนตรีสภา และองคมนตรีสภา 2. ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการในราชธานีใหม่โดยยกเลิกจตุสดมถ์ สมุหนายก และสมุหกลาโหม และจัดตั้งหน่วยงานเป็นกระทรวง 12 กระทรวง แต่ละกระทรวงมีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่ 1. กระทรวงมหาดไทย ดูแลเกี่ยวกับการปกครองหัวเมือง 2. กระทรวงกลาโหม ดูแลเกี่ยวกิจการทหารและหัวเมืองฝ่ายใต้ 3. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศ 4. กระทรวงวัง ดูแลเกี่ยวกับพระราชวัง 5. กระทรวงนครบาล ดูแลเกี่ยวกับกิจการตำรวจและราชทัณฑ์ 6. กระทรวงเกษตราธิราช ดูแลเกี่ยวกับการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เหมืองแร่ 7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร งบประมาณแผ่นดิน การคลัง 8. กระทรวงยุติธรรม ดูแลเกี่ยวกับการศาล ชำระความทั้งแพ่งและอาญา 9. กระทรวงยุทธนาธิการ ดูแลจัดการเกี่ยวกับการทหาร 10. กระทรวงโยธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับการก่อสร้าง ขุดคลอง ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ 11. กระทรวงธรรมการ ดูแลเกี่ยวการศึกษาและศาสนา 12. กระทรวงมุรธาธิการ ดูแลเกี่ยวกับพระราชสัญจกร พระราชกำหนดกฎหมาย หนังสือราชการ การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค - มณฑลเทศาภิบาล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผผู้ปกครอง - ในแต่ละมณฑลประกอบด้วย เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตามลำดับ โดยประชาชนเลือกตั้งกำนัน และผู้ใหญ่ บ้านเอง การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นตนเอง - ตั้งสุขาภิบาลแห่งแรก คือ สุขาภิบาลกรุงเทพฯ - ตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก คือ ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรปราการ การปรับปรุงระเบียบบริหารในสมัยรัชกาลที่ 6 1. ทรงยกโรงเรียนราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. ประกาศพระราชบัญญัติประถมศึกษา 3. ตั้งดุสิตธานี นครจำลองเพื่อการปกครองแบบประชาธิปไตย 4. ให้เสรีภาพหนังสือพิมพ์วิจารณ์รัฐบาล 5. เปลี่ยนการเรียกชื่อเมืองเป็นจังหวัด การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 7 การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 7 เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และภายหลังจาก เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เป็นสาเหตุให้ เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดย คณะราษฎร์ นำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(นาย ปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน หลักการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1. อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ 2. รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 3. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ - ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร - ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี - ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล หลักการปกครองของคณะราษฎร 1. รักษาความเป็นเอกราช 2. รักษาความปลอดภัยของประเทศ 3. พัฒนาเศรษฐกิจให้ราษฎรกินดีอยู่ดี 4. ให้ประชาชนมีความเสมอภาค เท่าเทียมกัน 5. ให้ประชาชนมีเสรีภาพ 6. ให้ประชาชนมีการศึกษา การเมืองการปกครองของไทยยังขาดเสถียรภาพ มีสาเหตุเนื่องมาจาก 1. มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อย ทำให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง 2. มีการเปลี่ยนโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาบ่อยครั้ง 3. มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้ง 4. เกิดปัญหาพรรคการเมืองไทย เช่น พรรคการเมืองมากเกินไป ขาดอุดมการณ์ ขาดระเบียบวินัย เป็นต้น